รายการ Intelligence ประจำวันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม 2556
"พฤษภาทมิฬ" 17 พฤษภาคม 2535 เหตุการณ์ที่นักศึกษาประชาชนชุมนุมขับไล่การสืบทอดอำนาจของ รสช.จนถูกปราบปราม ดูเหมือนจะถูกลืมและกลืนหายไป หลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และ "พฤษภาอำมหิต" การสลายการชุมนุมเรียกร้องให้ยุบสภาของมวลชนเสื้อแดง ระหว่างวันที่ 10 เมษายนถึง 19 พฤษภาคม 2553
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ใช่หรือไม่ว่าเป็นเพราะทั้งผู้นำและชนชั้นกลางที่เคยมีบทบาทในพฤษภา 35 กลับตาลปัตรไปสนับสนุนรัฐประหาร ไม่เอานักการเมืองจากการเลือกตั้ง ทั้งที่เคยขับไล่ทหารออกไปจากการเมือง
แม้ตัวคนเปลี่ยนไป แต่อุดมการณ์พฤษภา 35 ได้สืบทอดมาถึงพฤษภา 53 หรือไม่ และอุดมการณ์จากเหตุการณ์ทั้งสอง ควรจะนำไปสู่อะไร
ฟังทัศนะจากผู้ที่ร่วมต่อสู้ในพฤษภา 35 รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล แห่งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วรดุลย์ ตุลารักษ์ นักวิจัยอิสระด้านแรงงาน และสมภพ รัตนวลี บรรณาธิการบริหารเนชั่นทีวี อดีตเลขาธิการสหพันธ์เยาวชนคลองเตย
"พฤษภาทมิฬ" 17 พฤษภาคม 2535 เหตุการณ์ที่นักศึกษาประชาชนชุมนุมขับไล่การสืบทอดอำนาจของ รสช.จนถูกปราบปราม ดูเหมือนจะถูกลืมและกลืนหายไป หลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และ "พฤษภาอำมหิต" การสลายการชุมนุมเรียกร้องให้ยุบสภาของมวลชนเสื้อแดง ระหว่างวันที่ 10 เมษายนถึง 19 พฤษภาคม 2553
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ใช่หรือไม่ว่าเป็นเพราะทั้งผู้นำและชนชั้นกลางที่เคยมีบทบาทในพฤษภา 35 กลับตาลปัตรไปสนับสนุนรัฐประหาร ไม่เอานักการเมืองจากการเลือกตั้ง ทั้งที่เคยขับไล่ทหารออกไปจากการเมือง
แม้ตัวคนเปลี่ยนไป แต่อุดมการณ์พฤษภา 35 ได้สืบทอดมาถึงพฤษภา 53 หรือไม่ และอุดมการณ์จากเหตุการณ์ทั้งสอง ควรจะนำไปสู่อะไร
ฟังทัศนะจากผู้ที่ร่วมต่อสู้ในพฤษภา 35 รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล แห่งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วรดุลย์ ตุลารักษ์ นักวิจัยอิสระด้านแรงงาน และสมภพ รัตนวลี บรรณาธิการบริหารเนชั่นทีวี อดีตเลขาธิการสหพันธ์เยาวชนคลองเตย
Category
🗞
News