รายการคิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556
“การบ้านของเด็กควรลด หรือยกเลิก”
หลังจากที่นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ยกเลิกการไว้ผมเกรียน และให้ลดการบ้านเด็กนักเรียนให้น้อยลง จนกระทั่ง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาพูดว่า รัฐบาลกำลังทำ “ประชานิยมจูเนียร์”อยู่ ทั้งที่หลายปีกว่าเด็กเหล่านี้จะมีสิทธิเลือกตั้ง
นายฟรังซัวส์ ออลลองด์ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เตรียมออกคำสั่งห้ามครูสั่งการบ้านนักเรียน เนื่องจากไม่ได้ช่วยให้เด็กฉลาดขึ้น และจากหนังสือ The Homework Myth ของ Alfie Kohn และ The Case Against Homework ของ Sara Benett และ Nancy kalish ประชานิยมจูเนียร์หนังสือทั้งสองเล่ม ได้ยกเอาข้อมูล สถิติ งานศึกษา และการสำรวจจำนวนมาก เพื่อพยายามชี้ว่า “ การบ้านที่มากเกินไป ไม่ได้มีส่วนช่วยให้เด็กมีคะแนนสอบดีขึ้น”
จากสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกน ได้สำรวจเด็กอเมริกัน 24,000 คนพบว่าเด็กใช้เวลาทำการบ้านมากขึ้นกว่าปี 1981 ถึง 51%, เด็กในชั้นเรียนระดับล่าง จะมีอัตราการเพิ่มของการบ้านมากกว่าเด็กในชั้นเรียนที่สูงขึ้น, นอกจากนี้ยังพบว่า ประเทศที่ให้การบ้านน้อย เช่นญี่ปุ่น สาธารณรัฐเชค และเดนมาร์ก จะมีคะแนนสอบมาตรฐานของเด็กสูงกว่าประเทศที่ให้การบ้านมากเกินไป เช่น ไทย กรีซ และอิหร่าน
อย่างไรก็ตาม ปัญหาของการบ้าน อีกอย่างหนึ่งก็คือ กระบวนการเรียนรู้ของเด็กควรเป็นแบบสม่ำเสมอ และค่อยเป็นค่อยไปแต่การให้การบ้านของครูในแต่ละวิชานั้นมีแนวโน้มจะเป็นอิสระจากกัน จึงเกิดความล้มเหลวของการร่วมมือการให้การบ้าน (Homework Coordination Failure) นั่นหมายถึง บางวันเด็กมีการบ้านเยอะมาก บางวันก็อาจไม่มีเลย แทนที่กระจายอย่างสม่ำเสมอ แม้ว่าจะมีการโต้แย้งว่า การบ้านยังมุ่งหวังเพื่อสร้างนิสัย รักการเรียนด้วยก็ตาม แต่งานวิจัยจำนวนมากที่ตามมา ก็ยังไม่เห็นด้วยกับประเด็นนี้ เพราะการบ้านมีแนวโน้มน่าจะทำให้เด็กไม่รักการเรียนมากกว่า
ทางออกของ Kohn เสนอให้ยกเลิกการบ้านไปเลย ขณะที่ Bennet and Kalish เสนอว่า การให้การบ้านเพียงเล็กน้อย ประมาณ 10 นาที ไม่ต้องมีในช่วงวันหยุด หรือสุดสัปดาห์ ดังนั้นถึงเวลาแล้ว ที่เราต้องมาฉุกคิดว่า “การบ้านเป็นผลดีกับการศึกษาของเด็ก...จริงหรือไม่”
“การบ้านของเด็กควรลด หรือยกเลิก”
หลังจากที่นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ยกเลิกการไว้ผมเกรียน และให้ลดการบ้านเด็กนักเรียนให้น้อยลง จนกระทั่ง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาพูดว่า รัฐบาลกำลังทำ “ประชานิยมจูเนียร์”อยู่ ทั้งที่หลายปีกว่าเด็กเหล่านี้จะมีสิทธิเลือกตั้ง
นายฟรังซัวส์ ออลลองด์ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เตรียมออกคำสั่งห้ามครูสั่งการบ้านนักเรียน เนื่องจากไม่ได้ช่วยให้เด็กฉลาดขึ้น และจากหนังสือ The Homework Myth ของ Alfie Kohn และ The Case Against Homework ของ Sara Benett และ Nancy kalish ประชานิยมจูเนียร์หนังสือทั้งสองเล่ม ได้ยกเอาข้อมูล สถิติ งานศึกษา และการสำรวจจำนวนมาก เพื่อพยายามชี้ว่า “ การบ้านที่มากเกินไป ไม่ได้มีส่วนช่วยให้เด็กมีคะแนนสอบดีขึ้น”
จากสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกน ได้สำรวจเด็กอเมริกัน 24,000 คนพบว่าเด็กใช้เวลาทำการบ้านมากขึ้นกว่าปี 1981 ถึง 51%, เด็กในชั้นเรียนระดับล่าง จะมีอัตราการเพิ่มของการบ้านมากกว่าเด็กในชั้นเรียนที่สูงขึ้น, นอกจากนี้ยังพบว่า ประเทศที่ให้การบ้านน้อย เช่นญี่ปุ่น สาธารณรัฐเชค และเดนมาร์ก จะมีคะแนนสอบมาตรฐานของเด็กสูงกว่าประเทศที่ให้การบ้านมากเกินไป เช่น ไทย กรีซ และอิหร่าน
อย่างไรก็ตาม ปัญหาของการบ้าน อีกอย่างหนึ่งก็คือ กระบวนการเรียนรู้ของเด็กควรเป็นแบบสม่ำเสมอ และค่อยเป็นค่อยไปแต่การให้การบ้านของครูในแต่ละวิชานั้นมีแนวโน้มจะเป็นอิสระจากกัน จึงเกิดความล้มเหลวของการร่วมมือการให้การบ้าน (Homework Coordination Failure) นั่นหมายถึง บางวันเด็กมีการบ้านเยอะมาก บางวันก็อาจไม่มีเลย แทนที่กระจายอย่างสม่ำเสมอ แม้ว่าจะมีการโต้แย้งว่า การบ้านยังมุ่งหวังเพื่อสร้างนิสัย รักการเรียนด้วยก็ตาม แต่งานวิจัยจำนวนมากที่ตามมา ก็ยังไม่เห็นด้วยกับประเด็นนี้ เพราะการบ้านมีแนวโน้มน่าจะทำให้เด็กไม่รักการเรียนมากกว่า
ทางออกของ Kohn เสนอให้ยกเลิกการบ้านไปเลย ขณะที่ Bennet and Kalish เสนอว่า การให้การบ้านเพียงเล็กน้อย ประมาณ 10 นาที ไม่ต้องมีในช่วงวันหยุด หรือสุดสัปดาห์ ดังนั้นถึงเวลาแล้ว ที่เราต้องมาฉุกคิดว่า “การบ้านเป็นผลดีกับการศึกษาของเด็ก...จริงหรือไม่”
Category
🗞
News