รายการ คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา วันเสาร์ที่ 5 มกราคม 2556
Ageism การเหยียดวัย ว่ากันว่าในโลกนี้มีการเหยียด หรือการเลือกปฎิบัติอยู่ 3 สิ่งใหญ่ๆ คือ 1.Racisim การเหยียดเชื้อชาติ การเหยียดสีผิว 2. Sexism การเหยียดเพศ 3. Ageism การเหยียดวัย
สังคมปัจจุบันมีแนวโน้มมีลักษณะ Ageism กันมากขึ้น เช่นที่ประเทศญี่ปุ่น รัฐต้องแบกภาระในการดูแลคนชรามากขึ้น และได้กำหนดให้คนทำงาน 1 คนรับภาระคนชรา 4 คน นอกจากนี้ จากการทำวิจัย ทั้งองค์กรเอกชน,ธนาคาร เครื่องสำอาง มุ่งผลิตสร้างสินค้าเพื่อการชลอวัย ซึ่ง กระบวนการสร้างสิ่งป้องกัน “ชราภาพ”ได้แฝง Ageismที่ดูถูกเหยียดหยาม “วัย”อยู่
Robert Neil Butler จิตแพทย์เชี่ยวชาญเรื่องผู้สูงอายุ และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยการชราภาพแห่งชาติคนแรก ได้บัญญัติคำว่า “Ageism” เมื่อปี 2512 ได้อธิบายในการเลือกปฎิบัติต่อผู้สูงอายุ เช่นการมีอคติต่อผู้สูงอายุ วัยสูงอายุ และกระบวนการชราภาพ การเลือกปฎิบัติต่อผู้สูงอายุ หรือจะเป็นนโยบาย หรือการปฎิบัติในระดับสถาบันที่ส่งเสริมการสร้างภาพเหมารวมต่อผู้สูงอายุ
การเยียดวัย มักจะเริ่มขึ้นที่มีคนวัย 60 ปีขึ้นไป แม้ว่าวัฒนธรรมบ้านเราจะให้เกียรติผู้สูงอายุก่อน คนเกิดก่อนจะได้รับสิทธิหลายอย่าง และนั่นจะทำให้เกิดการถูกเหยียดวัยหรือเลือกปฎิบัติโดยไม่รู้ตัว เพราะตัวเองก็เคยทำเช่นนั้นเมื่อตัวเองอยู่ในวัยหนุ่มสาว เช่นกิจกรรมของผู้สูงอายุที่จัดให้ไม่ได้คำนึงถึงวุฒิภาวะของผู้สูงอายุเพราะมีมายาคติว่า เมื่อสูงวัยแล้วจะกลับไปเป็นเด็ก ซึ่งกิจกรรมของผู้สูงอายุก็จะเป็นกิจกรรมเหมือนที่จัดให้เด็กอนุบาล นี่ถือว่าเป็นการเหยียดวัยที่ทำโดยไม่รู้ตัว ทั้งที่บุคคลเหล่านี้ผ่านอะไรมามาก มีประสบการณ์มากมายควรจะได้รับยกย่อง แต่กลับเอาผู้สูงอายุมาทำอะไรตลกๆ เปิ่นๆ สร้างภาพให้คนแก่ทำอะไรเฟอะฟะ ทำอะไรไร้สาระ
การเหยียดวัยหรือ Ageism ยังออกมาในรูปแบบโฆษณา หรือการพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ก็มีลักษณะการเหยียดวัย เช่น สาวใหญ่ หนุ่มใหญ่ เฒ่าหัวงู ไม่เจียมสังขาร แก่กระโหลกกะลา ซึ่งผู้สูงวัยเหล่านี้เราต้องสัญนิษฐานไว้ก่อนว่าพวกเขามีวุฒิภาวะที่สมบูรณ์ไว้ก่อนไม่ใช่เหมาะรวมว่า หลงๆลืมๆ หรือมีวุฒิภาวะทางสมอง
The Unite Nations Principle for Older Persons ได้ประกาศเมื่อปี 2534 ให้ตระหนักถึงสิทธิของผู้สูงอายุ ดังนี้ Independence (การยืนหยัดได้ด้วยตัวเอง) +Participation (การมีส่วนร่วม)
+Care (การได้รับการดูแล)+Self-Fulfilment (การเติมเต็มด้วยตัวเอง)+Dignity (ศักดิ์ศรี/ภาคภูมิ) โดยเฉพาะ Dignity ผู้สูงอายุควรสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี ภาคภูมิปลอดภัย และไม่ถูกแสวงหาประโยชน์และไม่ถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจ
Ageism การเหยียดวัย ว่ากันว่าในโลกนี้มีการเหยียด หรือการเลือกปฎิบัติอยู่ 3 สิ่งใหญ่ๆ คือ 1.Racisim การเหยียดเชื้อชาติ การเหยียดสีผิว 2. Sexism การเหยียดเพศ 3. Ageism การเหยียดวัย
สังคมปัจจุบันมีแนวโน้มมีลักษณะ Ageism กันมากขึ้น เช่นที่ประเทศญี่ปุ่น รัฐต้องแบกภาระในการดูแลคนชรามากขึ้น และได้กำหนดให้คนทำงาน 1 คนรับภาระคนชรา 4 คน นอกจากนี้ จากการทำวิจัย ทั้งองค์กรเอกชน,ธนาคาร เครื่องสำอาง มุ่งผลิตสร้างสินค้าเพื่อการชลอวัย ซึ่ง กระบวนการสร้างสิ่งป้องกัน “ชราภาพ”ได้แฝง Ageismที่ดูถูกเหยียดหยาม “วัย”อยู่
Robert Neil Butler จิตแพทย์เชี่ยวชาญเรื่องผู้สูงอายุ และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยการชราภาพแห่งชาติคนแรก ได้บัญญัติคำว่า “Ageism” เมื่อปี 2512 ได้อธิบายในการเลือกปฎิบัติต่อผู้สูงอายุ เช่นการมีอคติต่อผู้สูงอายุ วัยสูงอายุ และกระบวนการชราภาพ การเลือกปฎิบัติต่อผู้สูงอายุ หรือจะเป็นนโยบาย หรือการปฎิบัติในระดับสถาบันที่ส่งเสริมการสร้างภาพเหมารวมต่อผู้สูงอายุ
การเยียดวัย มักจะเริ่มขึ้นที่มีคนวัย 60 ปีขึ้นไป แม้ว่าวัฒนธรรมบ้านเราจะให้เกียรติผู้สูงอายุก่อน คนเกิดก่อนจะได้รับสิทธิหลายอย่าง และนั่นจะทำให้เกิดการถูกเหยียดวัยหรือเลือกปฎิบัติโดยไม่รู้ตัว เพราะตัวเองก็เคยทำเช่นนั้นเมื่อตัวเองอยู่ในวัยหนุ่มสาว เช่นกิจกรรมของผู้สูงอายุที่จัดให้ไม่ได้คำนึงถึงวุฒิภาวะของผู้สูงอายุเพราะมีมายาคติว่า เมื่อสูงวัยแล้วจะกลับไปเป็นเด็ก ซึ่งกิจกรรมของผู้สูงอายุก็จะเป็นกิจกรรมเหมือนที่จัดให้เด็กอนุบาล นี่ถือว่าเป็นการเหยียดวัยที่ทำโดยไม่รู้ตัว ทั้งที่บุคคลเหล่านี้ผ่านอะไรมามาก มีประสบการณ์มากมายควรจะได้รับยกย่อง แต่กลับเอาผู้สูงอายุมาทำอะไรตลกๆ เปิ่นๆ สร้างภาพให้คนแก่ทำอะไรเฟอะฟะ ทำอะไรไร้สาระ
การเหยียดวัยหรือ Ageism ยังออกมาในรูปแบบโฆษณา หรือการพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ก็มีลักษณะการเหยียดวัย เช่น สาวใหญ่ หนุ่มใหญ่ เฒ่าหัวงู ไม่เจียมสังขาร แก่กระโหลกกะลา ซึ่งผู้สูงวัยเหล่านี้เราต้องสัญนิษฐานไว้ก่อนว่าพวกเขามีวุฒิภาวะที่สมบูรณ์ไว้ก่อนไม่ใช่เหมาะรวมว่า หลงๆลืมๆ หรือมีวุฒิภาวะทางสมอง
The Unite Nations Principle for Older Persons ได้ประกาศเมื่อปี 2534 ให้ตระหนักถึงสิทธิของผู้สูงอายุ ดังนี้ Independence (การยืนหยัดได้ด้วยตัวเอง) +Participation (การมีส่วนร่วม)
+Care (การได้รับการดูแล)+Self-Fulfilment (การเติมเต็มด้วยตัวเอง)+Dignity (ศักดิ์ศรี/ภาคภูมิ) โดยเฉพาะ Dignity ผู้สูงอายุควรสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี ภาคภูมิปลอดภัย และไม่ถูกแสวงหาประโยชน์และไม่ถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจ
Category
🗞
News